FAQs2024-01-09T10:53:57+07:00

คำถามที่พบบ่อย

NDID หรือ National Digital ID คืออะไร?2024-01-04T17:02:17+07:00

NDID คือ ตัวตนของผู้ใช้บริการบนโลกดิจิทัล ที่สามารถทำธุรกรรมออนไลน์ต่างๆ เช่น การเปิดบัญชีเงินฝากออนไลน์ การสมัครขอสินเชื่อออนไลน์ เป็นต้น โดยไม่ต้องเดินทางไปที่สาขา หรือสำนักงาน เพื่อทำการแสดงตนสำหรับสมัครบริการ

NDID เกี่ยวกับเรายังไง? ถ้าไม่สมัครได้หรือไม่?2024-01-04T17:08:29+07:00

NDID เป็น ‘ทางเลือก’ ในการเข้าถึงการให้บริการออนไลน์ต่างๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ โดยจะเริ่มต้นจากการเปิดบัญชีเงินฝากออนไลน์ที่ท่านสามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา ตั้งแต่ไตรมาส 1 ปี 2563 ได้เริ่มบริการเปิดบัญชีเงินฝากข้ามธนาคาร และหลังจากนั้น ได้ทยอยเปิดบริการอื่นๆ เช่น การเปิดบัญชีหลักทรัพย์ออนไลน์ หลักทรัพย์จัดการกองทุนออนไลน์ การขอสินเชื่อออนไลน์ การยื่นภาษีประจำปีออนไลน์ รวมไปถึงบริการที่เกี่ยวโยงกับภาคการศึกษาและสาธารณสุข เป็นต้น

จะใช้บริการ NDID ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร?2024-01-04T17:08:45+07:00

ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยและผ่านการพิสูจน์ตัวตนกับผู้ให้บริการโดยผู้ให้บริการจะทำการพิสูจน์ตัวตนตามมาตรฐานที่กำหนดจากหน่วยงานกำกับธุรกิจ ได้แก่ การเสียบบัตรประชาชนและตรวจสอบสถานะบัตรกับกรมการปกครอง และมีการถ่ายภาพเปรียบใบหน้ารวมถึงการตรวจจับการมีชีวิต (Liveness detection) และผ่านการลงทะเบียนบริการ NDID เรียบร้อยแล้ว

หากสนใจบริการจะต้องทำการลงทะเบียน NDID อย่างไร?2024-01-04T18:13:09+07:00

ผู้ให้บริการลงทะเบียน NDID ปัจจุบันมี 13 หน่วยงาน เป็นธนาคารพาณิชย์และธนาคารภาครัฐ 11 ธนาคาร ผู้ให้บริการเทเลคอม 1 หน่วยงาน และผู้ให้บริการเทคโนโลยีทางการเงิน (Fintech) 1 หน่วยงาน ดังนี้

 

  

 

การลงทะเบียน NDID สามารถทำได้หลากหลายช่องทาง ขึ้นกับผู้ให้บริการ รายละเอียดท่านสามารถตรวจสอบกับผู้ให้บริการที่ท่านใช้บริการ ได้แก่

แอปพลิเคชันของผู้ให้บริการ

  • เข้าไปที่แอพพลิเคชั่นของธนาคารที่ท่านเลือก
  • กดเลือกเมนูบริการ ‘NDID’
  • ระบบจะทำการตรวจสอบ เก็บรวบรวมข้อมูลในฐานข้อมูล และแนะนำขั้นตอนในการลงทะเบียน เช่น กรอก ข้อมูลเพิ่มเติม ถ่ายรูป และรับเงื่อนไขการใช้บริการระบบ เป็นต้น

เคาน์เตอร์ผู้ให้บริการ

  • ไปที่เคาน์เตอร์ธนาคารสาขาที่ให้บริการ
  • แจ้งความประสงค์ต่อพนักงานธนาคารว่าต้องการจะลงทะเบียน NDID พร้อมยื่นบัตรประชาชน
  • เจ้าหน้าที่ธนาคารจะแนะนำขั้นตอนในการลงทะเบียน เช่น กรอกข้อมูลลงในระบบ ถ่ายรูป รับเงื่อนไขการใช้บริการระบบ และ/หรือ เปิดใช้บริการ mobile banking ที่ผูกกับ NDID ของท่าน เป็นต้น

ATM /Kiosk ของผู้ให้บริการ

  • ไปที่ ATM/Kiosk ของผู้ให้บริการ
  • เลือกการยืนยันตัวตน
  • เสียบบัตรประชาชน และทำตามขั้นตอนในการลงทะเบียน เช่น รับเงื่อนไขการให้บริการระบบ ถ่ายรูปเปรียบเทียบใบหน้า เป็นต้น
หากได้ลงทะเบียนบริการ NDID กับผู้ให้บริการแล้ว ในการทำรายการครั้งถัดไป ต้องลงทะเบียนใหม่หรือไม่ ?2024-01-04T17:09:28+07:00

ไม่ต้องลงทะเบียนใหม่ ผู้ใช้บริการจะมีตัวตนกับผู้ให้บริการนั้นจนกว่าจะยกเลิกใช้บริการ แต่การใช้งานครั้งถัดไปจะต้องทำการยืนยันตัวตนเพื่อร้องขอทำธุรกรรม ซึ่งจะต้องแสดงสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน (authenticator) เพื่อพิสูจน์ว่าเราคือคนนั้นจริง เช่น  PIN, Password และ ผลการเปรียบเทียบใบหน้า จึงจะสามารถทำธุรกรรมนั้นได้

1 หมายเลขบัตรประชาชน สามารถลงทะเบียน NDID กับผู้ให้บริการได้กี่แห่ง?2024-01-04T17:09:44+07:00

สามารถลงทะเบียนการใช้บริการ NDID กับผู้ให้บริการได้หลายแห่ง

หากประสงค์ขอยกเลิกการลงทะเบียนบริการ NDID ต้องทำอย่างไร2024-01-04T17:10:00+07:00

สามารถกดยกเลิกการลงทะเบียนได้ที่ Mobile App > เมนูบริการ NDID ของแต่ละผู้ให้บริการ

จะแน่ใจได้อย่างไรว่าข้อมูลปลอดภัย และมีการรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูล?2024-01-04T17:10:14+07:00

NDID ได้ผ่านการตรวจมาตรฐาน ISO 27001 และมีหลักการออกแบบระบบ NDID เป็นแบบ Data Security and Privacy by Design เป็นบริการที่มี ความปลอดภัยสูงด้วยการเข้ารหัสในการรับส่งข้อมูล และระบบไม่มีการรวมศูนย์เก็บข้อมูล ข้อมูลยังคงอยู่กับหน่วยงานที่ดูแลข้อมูลและให้บริการลูกค้า ระบบถูกออกแบบภายใต้แนวคิด Decentralized ด้วยเทคโนโลยี Blockchain ซึ่งผู้ดูแลระบบคือ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัล ไอดี จำกัด จะไม่สามารถเห็นข้อมูลใดๆของลูกค้า มีเพียง Log ในการทำรายการเท่านั้น และออกแบบบนพื้นฐานของ Privacy and Security by Design

ทั้งนี้ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัล ไอดี จำกัด เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างธนาคารพาณิชย์ไทย บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทจัดการกองทุน บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทผู้ให้บริการชำระเงินทางอิเลกทรอนิกส์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทไปรษณีย์ไทย รวมมากกว่า 60 บริษัท ซึ่งแต่ละบริษัทอยู่ภายใต้การกำกับ จึงมั่นใจได้ว่าหน่วยงานที่กำกับและบริษัทเหล่านั้นต้องปฏิบัติตามกฏหมายและกฏเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลอย่างแน่นอน

หากเปรียบเทียบวิธีการของ NDID Ecosystem กับวิธีการในปัจจุบันที่ใช้เอกสารสำเนาในการสมัครบริการต่างๆจะมีความปลอดภัยมากกว่าเดิมอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อได้ใช้บริการและศึกษาข้อมูลครบถ้วนจะพบว่าการใช้บริการ NDID นั้น สะดวกขึ้นและปลอดภัยขึ้นกว่าเดิมด้วย

ระบบมีความถูกต้องน่าเชื่อถือได้เพียงใด ?2024-01-04T17:10:28+07:00

บริการ NDID Platform ในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนดิจิทัลผ่าน NDID นี้ ผ่านโครงการทดสอบนวัตกรรมหรือบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA Sandbox) ด้าน Digital ID เป็นหน่วยงานแรก

อีกทั้ง NDID อยู่ในการกำกับดูแลของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) นอกจากนี้ทางสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์อยู่ระหว่างการออกใบอนุญาตสำหรับผู้ประกอบธุรกิจด้านExchange Platform ซึ่ง NDID ได้ยื่นขอใบอนุญาตเรียบร้อยแล้ว

จะมั่นใจในผู้ให้บริการยืนยันตัวตนผ่าน NDID ได้อย่างไร ?2024-01-24T19:27:48+07:00

NDID มีกระบวนการในการรับสมัครสมาชิกเข้าร่วมการใช้งาน โดยสมาชิกจะต้องผ่านการทดสอบในขั้นตอนต่างๆ รวมถึงผ่านการตรวจประเมินด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศและระบบตามที่ NDID กำหนด โดยผู้ให้บริการแต่ละรายมีหน่วยงานกำกับ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย และ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

ทั้งนี้ผู้ให้บริการยืนยันตัวตนทุกราย จะต้องยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจผู้ให้บริการยืนยันตัวตน (IdP) จากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

ระบบมีการรองรับด้านกฎหมายอย่างไรบ้าง ?2024-01-04T17:10:59+07:00

ผลทางกฎหมายของการใช้บริการ ndid นั้น ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 34/3 กำหนดไว้ว่า บุคคลที่ได้รับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (ผ่านบริการ ndid) ได้รับการสันนิษฐาน/ข้อสันนิษฐานว่าเป็นบุคคลนั้นจริง ซึ่งจะมีผลต่อการดำเนินการต่าง ๆ e-KYC, e-Signatures, e-Contract ในเชิงที่ว่าหากบุคคลใดจะโต้แย้งว่าบุคคลที่ได้รับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (ผ่านบริการ ndid) ไม่ใช่บุคคลนั้นจริง บุคคลดังกล่าวจะต้องนำสืบหรือพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานทางกฎหมาย

ข้อพึงระวังในการใช้บริการ NDID มีอะไรบ้าง?2024-01-04T17:11:20+07:00

หากผู้ใช้บริการได้รับการแจ้งเตือน (Notification) สำหรับยืนยันตัวตนเพื่อเปิดใช้บริการ ขอให้ผู้ใช้บริการตรวจสอบคำขอและหมายเลขอ้างอิง (Reference) ให้แน่ชัดว่าเป็นการขอยืนยันตัวตนเพื่อขอเปิดใช้บริการต้นทางที่ลูกค้าได้ทำการสมัครไว้

ประโยชน์ของ NDID?2024-01-04T17:11:37+07:00
  • ยกระดับการทำธุรกรรมของประเทศไทยให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น และสนับสนุนทำให้เกิดการทำธุรกรรมบนโลกออนไลน์ ที่มีความปลอดภัยสูง
  • ได้รับความสะดวก รวดเร็ว และประหยัดเวลา ในการใช้บริการ โดยสามารถทำรายการผ่านทางช่องทางออนไลน์ได้โดยอ้างอิงการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ซึ่งมีความปลอดภัยสูงกว่าการทำธุรกรรมที่มีการพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วยสำเนาบัตรประชาชน
  • ลดต้นทุนและเวลาในการเดินทางมาแสดงตนที่สาขาหรือสำนักงาน ลดการกรอกข้อมูล ลดการใช้ปริมาณเอกสารกระดาษเพื่อแสดงตนในการสมัครใช้บริการกับหน่วยงานต่างๆ
Go to Top